วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1. การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

          การประสานประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแล้วยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของตน อ่านต่อ


2. การแลกเปลี่ยนร่วมมือระหว่างกัน
ไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส
          ไทยกับฝรั่งเศสเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามเมื่อปี ๒๒๒๘ อ่านต่อ

ไทย เยอรมนี
           ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนี และประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวเยอรมัน อ่านต่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษยชน

1.สิทธิมนุษยชน
          สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" อ่านต่อ


2.สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก อ่านต่อ

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฎหมาย


1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
           กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชนหรือคนแต่ละคน ทั้งเมื่อยู่ตามลำพัง และเมื่อติดต่อกับผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาของกฎหมายแพ่งของไทย ซึ่งมีรวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ครอบครัว ทรัพย์สิน นิติกรรม และสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน อ่านต่อ


2.ข้อตกลงระหว่างประเทศ
แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับชั้นโอโซน
          ปัญหาการถูกทำลายของชั้นโอโซนได้ถูกหยิบยกมาอภิปรายโดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment  Programme,  UNEP) ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่องชั้นโอโซน
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เช่นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) รับผิดชอบเรื่องแผนวิจัยด้าน
บรรยากาศ องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์กรเอกชน (NGO) ต่อมาจึงกลายมาเป็นปฏิบัติการระหว่าง
ประเทศที่จะควบคุมสารซีเอฟซี ( CFCs) อ่านต่อ



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


1. รัฐ
          รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ อ่านต่อ


2. ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
          ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น  เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้ อ่านต่อ


3. การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
          ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตย โดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยการเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่าได้มอบอำนาจให้กับผู้แทนของประชาชนไปใช้ในฐานะที่เป็น ตัวแทนแล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็สามารถเฝ้าดู ตรวจสอบควบคุมและแทรกแซงการทำหน้าที่ของตัวแทนของประชาชนได้เสมอ โดยสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ 4 ลักษณะ อ่านต่อ



หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลเมืองดี


1. พลเมืองดี


          “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตยจึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย อ่านต่อ


2. คุณลักษณะพลเมืองดี
                คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้ อ่านต่อ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม


1. วัฒนธรรม
          วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม อ่านต่อ


2. วัฒนธรรมไทย
          วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี อ่านต่อ


3. การเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
         สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ ในสังคมปรับตัวเองไม่ทัน จนเกิดปัญหาทาง วัฒนธรรมที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดมา อ่านต่อ


4. ความเเตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
         เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ  ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  หรือบริบทของสังคมนั้นๆ  แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา  เรียกกันว่า วัฒนธรรมสากล (global culture)” อ่านต่อ


5. การเลือกรับวัฒนธรรมสากล
การเลือกรับวัฒนธรรมนั้น จะต้องพิจารณาได้ตามปัจจัยดังต่อไปนี้
1. วัฒนธรรมนั้นต้องสามารถผสมผสานเข้ากับโครงสร้างทางสังคมทาง ค่านิยมและขนบธรรมเนียมไทยได้ อ่านต่อ





หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางสังคม


1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
         สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านต่อ


2. ปัญหาสังคมไทย
          ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น อ่านต่อ


3. แนวทางการพัฒนาสังคม
          ประเทศไทยได้มีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่  พุทธศักราช  2504 ในระยะแรกแผนพัฒนาจะเน้นเรื่องเศษฐกิจมากกว่าสังคม และได้มีจุดเปลี่ยนขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  8 (พ.ศ. 2540-2544)  ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น  "โดยมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"  และใช้เศษฐกิจเป็นตัวช่วยพัฒนาให้คนในสังคม มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   จนมาถึงฉบับที่  9 ( พ.ศ. 2545-2549 )  ก็ใช้แผนพัฒนาเป็นไปในทางเดียวกันกับฉบับที่ 8  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งสองด้าน  ทั้งด้านคน  สังคม  เศษฐกิจและสิ่งแวดล้อม  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และได้อัญเชิญหลักปรัญญาเศษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำทางในการพัฒนา  ซึ่งกลไกการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯฉบับนี้  ได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจเพราะทำให้ความยากจนของประเทศลดลง อ่านต่อ