วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฎหมาย


1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
           กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชนหรือคนแต่ละคน ทั้งเมื่อยู่ตามลำพัง และเมื่อติดต่อกับผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเนื้อหาของกฎหมายแพ่งของไทย ซึ่งมีรวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ครอบครัว ทรัพย์สิน นิติกรรม และสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน อ่านต่อ


2.ข้อตกลงระหว่างประเทศ
แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับชั้นโอโซน
          ปัญหาการถูกทำลายของชั้นโอโซนได้ถูกหยิบยกมาอภิปรายโดยองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Environment  Programme,  UNEP) ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่องชั้นโอโซน
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรต่างๆ เช่นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) รับผิดชอบเรื่องแผนวิจัยด้าน
บรรยากาศ องค์การอนามัยโลก (WHO) และ องค์กรเอกชน (NGO) ต่อมาจึงกลายมาเป็นปฏิบัติการระหว่าง
ประเทศที่จะควบคุมสารซีเอฟซี ( CFCs) อ่านต่อ



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


1. รัฐ
          รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ อ่านต่อ


2. ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
          ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น  เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้ อ่านต่อ


3. การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
          ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตย โดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยการเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่าได้มอบอำนาจให้กับผู้แทนของประชาชนไปใช้ในฐานะที่เป็น ตัวแทนแล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็สามารถเฝ้าดู ตรวจสอบควบคุมและแทรกแซงการทำหน้าที่ของตัวแทนของประชาชนได้เสมอ โดยสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ 4 ลักษณะ อ่านต่อ



หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลเมืองดี


1. พลเมืองดี


          “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตยจึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย อ่านต่อ


2. คุณลักษณะพลเมืองดี
                คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้ อ่านต่อ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม


1. วัฒนธรรม
          วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม อ่านต่อ


2. วัฒนธรรมไทย
          วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี อ่านต่อ


3. การเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
         สังคมไทยก็เหมือนกับสังคมมนุษย์ทั้งหลายในโลกที่ไม่หยุดอยู่นิ่งๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆ ในระดับเดียวกันแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ ในสังคมปรับตัวเองไม่ทัน จนเกิดปัญหาทาง วัฒนธรรมที่ต้องมีการแก้ไขกันตลอดมา อ่านต่อ


4. ความเเตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
         เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ  ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  หรือบริบทของสังคมนั้นๆ  แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา  เรียกกันว่า วัฒนธรรมสากล (global culture)” อ่านต่อ


5. การเลือกรับวัฒนธรรมสากล
การเลือกรับวัฒนธรรมนั้น จะต้องพิจารณาได้ตามปัจจัยดังต่อไปนี้
1. วัฒนธรรมนั้นต้องสามารถผสมผสานเข้ากับโครงสร้างทางสังคมทาง ค่านิยมและขนบธรรมเนียมไทยได้ อ่านต่อ





หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางสังคม


1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
         สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านต่อ


2. ปัญหาสังคมไทย
          ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น อ่านต่อ


3. แนวทางการพัฒนาสังคม
          ประเทศไทยได้มีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่  พุทธศักราช  2504 ในระยะแรกแผนพัฒนาจะเน้นเรื่องเศษฐกิจมากกว่าสังคม และได้มีจุดเปลี่ยนขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  8 (พ.ศ. 2540-2544)  ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น  "โดยมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"  และใช้เศษฐกิจเป็นตัวช่วยพัฒนาให้คนในสังคม มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   จนมาถึงฉบับที่  9 ( พ.ศ. 2545-2549 )  ก็ใช้แผนพัฒนาเป็นไปในทางเดียวกันกับฉบับที่ 8  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งสองด้าน  ทั้งด้านคน  สังคม  เศษฐกิจและสิ่งแวดล้อม  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และได้อัญเชิญหลักปรัญญาเศษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำทางในการพัฒนา  ซึ่งกลไกการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯฉบับนี้  ได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจเพราะทำให้ความยากจนของประเทศลดลง อ่านต่อ



วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สังคม

1. โครงสร้างทางสังคม
          โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงสร้าง ของสังคม เปรียบได้กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่อย่าง สมบูรณ์ ประกอบด้วย โครงสร้างที่สำคัญหลายอย่าง เช่น คาน หลังคา พื้น ฝา ประตู หน้าต่าง เป็นต้น โครงสร้างของสังคมก็เช่นเดียวกัน ย่อมประกอบด้วยกลุ่มคน สถาบันทางสังคม และสถานภาพ บทบาทของคนในสังคม อ่านต่อ


2. การจัดระเบียบทางสังคม
          การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม อ่านต่อ


3. การขัดเกลาทางสังคม
          การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง  กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์   ระเบียบปฎิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ  การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอตชีวิต  เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี อ่านต่อ


4. ลักษณะสังคมไทย
          สังคมไทยมีลักษณะเป็นเอกสังคม ประกอบด้วยคนเชื้อชาติและสัญชาติไทยอยู่รวมกันเป็นส่วนใหญ่ ในปีพ.ศ. 2536 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 58 ล้านคนและปี พ.ศ. 2539 มีจำนวนประชากรประมาณ 60 ล้านคน ประเทศไทยจึงประสบปัญหาการเพิ่มจำนวนของประชากร อ่านต่อ



พุยพุย